วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

วันพุธที่ 27 เมษายน  2559

ความรู้ที่ได้รับ
  • วิธีการแผนการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

ตัวอย่างเรื่องสัตว์บก

  • จุดประสงค์
เพื่อให้เด็ก

1. เคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายได้
2. ฟังและปฏิบัติตามสัญญาณได้
3. ปฏิบัติตามข้อตกลงได้
4. เคลื่อนไหวตามข้อตกลงได้
  • สาระการเรียนรู้
-สาระที่ควรเรียนรู้

กิจกรรมพื้นฐาน
1. การฟังและการปฏิบัติตามสัญญาณ
กิจกรรมสัมพันธ์เนื้อหา
2. การปฏิบัติตามข้อตกลง
กิจกรรมพักคลายกล้ามเนื้อ
-ประสบการณ์สำคัญ

ด้านร่างกาย
1. การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ และการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่
ด้านอารมณ์-จิตใจ
2. แสดงกิริยาโต้ตอบเสียงดนตรี ทำท่าทางตามจังหวะและแสดงออกอย่างสนุกสนาน
ด้านสังคม
3. การแก้ปัญหาในการเล่น
ด้านสติปัญญา
 4. การเริ่มต้นและหยุดการกระทำโดยสัญญาณ
  • กิจกรรม

กิจกรรมพื้นฐาน
1. ให้เด็กๆ เคลื่อนไหวร่างกายไปทั่วๆ บริเวณอย่างอิสระตามจังหวะสัญญาณการเคาะ ดังนี้
เคาะ 1 ครั้ง ก้าว 1 ก้าว
  เคาะ 2 ครั้ง ก้าว 2 ก้าว
เคาะรัวให้ก้าวเร็วๆ
     เมื่อได้ยินเสียงสัญญาณ “หยุด” เคาะ 2 ครั้ง ติดกันให้หยุดเคลื่อนไหวในท่านั้นทันที
กิจกรรมสัมพันธ์เนื้อหา
2. ตกลงเรื่องสัญญาณกับท่าทางในการเคลื่อนไหวดังดังนี้
   - สัญญาณ รัวๆช้าๆ ให้คลาน
   - สัญญาณ รัวๆเร็วๆ ให้กระโดด
3. ให้เด็กเคลื่อนไหวร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะเมื่อได้ยินเสียงสัญญาณ หยุด ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ตกลงกันไว้
4. ปฏิบัติซ้ำข้อ 2-3 ซ้ำอีก
กิจกรรมพักคลายกล้ามเนื้อ
5. ให้เด็กนั่งลงต่อแถวตอน บีบนวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อสลับกันทำท่าต่างๆ
  • สื่อ/แหล่งเรียนรู้
1. เครื่องให้จังหวะ(แทมโบรีน)
  • การประเมินพัฒนาการ
สังเกต
 1.การเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย
 2.การปฏิบัติตามสัญญาณ
 3.การปฏิบัติตามข้อตกลง
  • หมายเหตุ
บูรณาการ

- คณิตศาสตร์
- จำนวน

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • สามารถวิธีการต่าง ๆ นำไปเขียนแผนการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหว ในหน่วยต่างๆได้
การประเมินผล
    ประเมินตนเอง : ไม่มีสมาธิเพราะนศ.และเสียงดัง 
    ประเมินเพื่อน :  วันนี้เรียนรวมกันสามเซคชั่นทำให้เสียงดังและวุ่นวายบางครั้ง
    ประเมินอาจารย์ : ขอบคุณอาจารย์ค่ะที่อดทนได้ขนาดนี้

วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

วันจันทร์ที่ 18 เมษายน  2559

วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน 2559

ความรู้ที่ได้รับ
  • การเคลื่อนไหวประกอบเพลง

  • การสอนเคลื่อนไหวพร้อมอุปกรณ์  มีอุปกรณ์หลายอย่างที่สามารถใช้ประกอบการเรียนการสอนได้  เช่น ตุ๊กตา ลูกโป่ง ถุงพลาสติก ลูกบอล โบว์ กระดาษทิชชู่  เชือก เป็นต้น
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-สามารถนำเทคนิคที่ได้ไปใช้ในการสอนเด็กๆ
-ด้านอุปกรณ์เราสามารถประดิษฐ์ขึ้นหรือนำวัสดุรอบๆตัวมาใช้ได้

การประเมินผล
    ประเมินตนเอง : ให้ความร่วมมือกับกิจกรรม  สนใจในบทเรียน  มีแกล้งเพื่อนบางครั้ง
    ประเมินเพื่อน : ตั้งใจดี  ให้ความร่วมมือกับกิจกรรม
    ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์คอยให้คำปรึกษาตลอดการทำกิจกรรม

วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

วันจันทร์ที่ 4  เมษายน  2559

วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน 2559

ความรู้ที่ได้รับ
  • การสอนเคลื่อนไหวแบบตามบรรยาย เป็นการเคลื่อนไหวที่เล่าเรื่องราวต่างๆให้กับเด็ก โดยให้เด็กทำท่าทางตามเรื่องราวนั้นๆ สอนให้สอดคล้องกับหน่วยหรืออาจเป็นนิทานต่างๆ เช่น 
-เรื่องกิจวัตรประจำวัน
-เรื่องไปเที่ยวทะเล
-เรื่องไปสวนสัตว์
-เรื่องไปทำบุญ

ตัวอย่าง เรื่องกิจวัตรประจำวัน

เริ่มด้วยการเคลื่อนไหวพื้นฐาน 
-โดยคุณครูกำหนดสัญญาณ 
-ถ้าคุณครูเคาะจังหวะช้าๆ ให้เด็กๆเดินต่อเท้าช้าๆไปรอบๆห้อง 
-ถ้าคุณครูเคาะจังหวะเร็วๆ ให้เด็กๆเดินต่อเท้าอย่างรวดเร็วไปรอบๆห้อง 
-ถ้าคุณครูเคาะจังหวะ ครั้งติดกันให้เด็กๆหยุดอยู่ในท่านั้นทันที 

ต่อด้วยการเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย 
-เด็กๆตื่นแต่เช้าค่อยๆเปิดน้ำล้างหน้า  แปรงฟัน  อาบน้ำถูสบู่  สระผม  เช็ดตัว  แต่งตัวไปโรงเรียน
-กลับบ้านพักผ่อน
-ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-สามานำไปใช้ประกอบการเล่านิทานซึ่งจะทำให้เด็กมีส่วนร่วมด้วย

การประเมินผล
    ประเมินตนเอง : ยังสับสนกับการเรียงลำดับเหตุการณ์อยู่บ้างจึงทำให้ติดขัดบางครั้ง
    ประเมินเพื่อน : ให้ความร่วมมืออย่างดี
    ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์คอยให้คำแนะนำตลอด

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

วันจันทร์ที่ 28  มีนาคม  2559   

วันพฤหัสบดีที่ 31  มีนาคม  2559

ความรู้ที่ได้รับ

  • ทดลองสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวตามคำสั่งหรือข้อตกลง
  


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-นำข้อแตกต่างในการสอนระหว่างของเราและเพื่อนไปปรับปรุงให้การสอนดียิ่งขึ้น
การประเมินผล
    ประเมินตนเอง : ให้ความร่วมมือ  สนใจเวลาเพื่อนสอน
    ประเมินเพื่อน :  มีความสร้างสรรค์แตกต่างกันเวลาสอน
    ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์ให้คำแนะนำเสมอ

วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

วันจันทร์ที่ 21  มีนาคม  2559   

วันพฤหัสบดีที่ 24  มีนาคม  2559

ความรู้ที่ได้รับ

  • การเคลื่อนไหวตามข้อตกลง (ตามคำสั่ง) 
  • สัญญาณโดยการเคาะ
    1.ถ้าคุณครูเคาะ 1 ครั้งให้เด็ก ๆ จับหัว
    2.ถ้าคุณครูเคาะ 2 ครั้ง ให้เด็กๆ จับไหล่
    3.ถ้าคุณครูเคาะ 3 ครั้ง ให้เด็กๆ จับเอว
  • เคลื่อนไหวตามมุมต่าง ๆที่ครูกำหนด เช่น  
               สัญญาณโดยการกำหนดมุม
    1.ถ้าคุณครูพูดว่า มุมบล็อก ให้เด็กๆ ทำท่าปลาและเดินไปที่มุมบล็อก
    2.ถ้าคุณครูพูดว่า มุมบ้าน ให้เด็กๆ ทำท่าแมวและเดินไปที่มุมบ้าน
    3.ถ้าคุณครูพูดว่า มุมดนตรี ให้เด็กๆ ทำท่าวัวและเดินไปที่มุมดนตรี
    4.ถ้าคุณครูพูดว่า มุมหนังสือ ให้เด็กๆ ทำท่านกและเดินไปที่มุมหนังสือ

           สัญญาณโดยรูปภาพ


    1.ถ้าคุณครูชูรูปวงกลม ให้เด็กๆปรบมือ 1 ครั้ง
    2.ถ้าคุณครูชูรูปสี่เหลี่ยม ให้เด็กๆปรบมือ 2 ครั้ง
    3.ถ้าคุณครูชูรูปสามเหลี่ยม ให้เด็กๆปรบมือ 3 ครั้ง

  



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-สามารถนำสิ่งรอบตัวมาประยุกต์กับการสอนได้เช่น  นำดอกไม้ชนิดต่างๆมาทำกิจกรรม
การประเมินผล
    ประเมินตนเอง : ตั้งใจและให้ความร่วมมือ
    ประเมินเพื่อน :  ตั้งใจสนใจในเนื้อหา
    ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์ให้เทคนิคดีๆมากมาย

วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

วันจันทร์ที่ 14  มีนาคม  2559   

วันพฤหัสบดีที่ 17  มีนาคม  2559

ความรู้ที่ได้รับ

  • การเคลื่อนไหวพื้นฐาน

  • ขั้นตอนการสอน
      
     1.ร้องเพลงเกี่ยวกับหน่วยเรื่องที่เรียนหรือร้องเพลงเก็บเด็ก : กระตุ้นเพื่อเข้ากิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
     2.กำหนดสัญญาณ      

    แบบที่1โดย 
    - ถ้าครูเคาะ 1 ครั้ง ให้เด็กๆ ก้าว 1 ก้าว
    - ถ้าคุณครูเคาะ 2 ครั้ง ให้เด็ก ๆ ก้าว 2 ก้าว 
    - ถ้าคุณครูเคาะ 2 ครั้งติดกัน ให้เด็ก ๆหยุดอยู่กับที่
         
     แบบที่2โดย 
    -  ถ้าคุณครูเคาะ ช้า ๆ ให้เด็ก ๆ เคลื่อนที่แบบช้า ๆ ไปรอบๆห้อง
    -  ถ้าคุณครูเคาะ รัว ๆ เร็วๆ ให้เด็ก ๆ เคลื่อนที่แบบเร็ว ๆไปรอบๆห้อง

    -  แต่ถ้าคุณครูเคาะ 2 ครั้งติดกัน ให้เด็กๆ หยุดอยู่กับที่
  • การเคลื่อนไหวสัมพันธ์เนื้อหาแบบผู้นำผู้ตาม : ตามหน่วยของสัปดาห์นั้น
    1.เคลื่อนไหวพื้นฐาน
    2.ให้เด็กๆ จับมือเป็นวงกลม
    3.ครูเลือกตัวแทนเด็ก เพื่อออกมานำเพื่อนในท่าทางต่าง ๆ

  • เคลื่อนไหวตามคำบรรยาย คือการที่ครูเล่าเรื่อง ต่างๆตามหน่วยที่เรียนในวันนั้นและกำหนดสัญญาณขึ้นก่อน จึงเล่าเรื่องราวเพื่อให้เด็กได้เคลื่อนไหวท่าทางไปตามคำบรรยายของคุณครู
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-สามารถนำกิจกรรมมาสอนและปลูกฝังกติกาต่างๆทั้งการเป็นผู้นำผู้ตามแก่เด็ก

การประเมินผล
    ประเมินตนเอง : ร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อนๆและตั้งใจในเนื้อหา
    ประเมินเพื่อน : มีความตั้งใจดีและสนใจบทเรียน
    ประเมินอาจารย์ :  สอนเข้าใจได้ง่ายและมีเทคนิคเล็กๆน้อยๆให้อยู่ตลอด

วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม  2559

ความรู้ที่ได้รับ

  • การเคลื่อนไหวพื้นฐาน

  • ขั้นตอนการสอน
    1.ร้องเพลงเกี่ยวกับหน่วยเรื่องที่เรียนหรือร้องเพลงเก็บเด็ก : กระตุ้นเพื่อเข้ากิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
    2.กำหนดสัญญาณ โดย 
    - ถ้าครูเคาะ 1 ครั้ง ให้เด็กๆ ก้าว 1 ก้าว
    - ถ้าคุณครูเคาะ 2 ครั้ง ให้เด็ก ๆ ก้าว 2 ก้าว 
    - ถ้าคุณครูเคาะ 2 ครั้งติดกัน ให้เด็ก ๆหยุดอยู่กับที่

  • การเคลื่อนไหวสัมพันธ์เนื้อหา แบบผู้นำผู้ตาม : ตามหน่วยของสัปดาห์นั้น
  • 1.ให้เด็กๆ จับมือเป็นวงกลม
    2.ครูเรียกตัวแทนเด็ก เพื่อนำเพื่อนในท่าทางต่าง ๆ 

  • การผ่อนคลาย มี 2แบบ

  • 1.บีบนวด
    โดยให้เด็กๆผ่อนคลายโดยการบีบนวด แขน ขา ตัวเอง 
    2.เล่าเรื่องราวโดยครูจะเล่าเป็นเรื่องราวให้เด็กได้ผ่อนคลาย เช่น  วันนี้เด็กๆเหนื่อยมาทั้งวันแล้ว เด็กๆค่อยๆนอนลงบนเตียง เด็กๆกลิ้งไปทางซ้าย - ทางขวา เด็กๆหยิบผ้าห่มมาห่ม ค่อยๆหายใจเข้า - ออก แล้วหลับตาลง (ให้เด็กนอนพักประมาน 10 วินาที )




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-ให้เด็กได้ฝึกการเป็นผู้นำผู้ตาม
-สามารถดัดแปลงท่าการผ่อนคลายกล้ามเนื้อให้มีวามหลากหลายยิ่งขึ้นไม่น่าเบื่อ

การประเมินผล
    ประเมินตนเอง : ตั้งใจสนใจในบทเรียน 
    ประเมินเพื่อน :ตั้งใจสนใจในบทเรียน  ให้ความร่วมมือตลอด
    ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนกระชับเข้าใจได้ง่าย

วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

วันเสาร์ที่  5 มีนาคม  2559   เรียนชดเชย

ความรู้ที่ได้รับ

  • การประดิษฐ์เครื่องเคาะจังหวะจากวัสดุเหลือใช้เพื่อใช้ในกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-สามรถนำวัสดุเหลือใช้รอบๆตัวมาประดิษฐ์ได้
-สามรถประดิษฐ์เครื่องดนตรีที่หลากหลายและแปลกใหม่
การประเมินผล
    ประเมินตนเอง : ตั้งใจและใส่ใจเวลาประดิษฐ์
    ประเมินเพื่อน :  เพื่อนมีความตั้งใจดี  
    ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์บาสเตรียมอุปกรณ์ไว้พร้อมและให้คำแนะนำเสมอ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

วันพุธที่ 2  มีนาคม  2559

ความรู้ที่ได้รับ

  • ศึกษาดูงานโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์
  • ความรู้เกี่ยวกับการจัดโครงการ Project Approach
  • การจัดมุมในห้องเรียน
  • การจัดกิจกรรมในแต่ละวัน











การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-สามารถนำมาเป็นเป็นตัวอย่างในการจัดการเรียนการสอนหรือจัดห้องเรียนแก่เด็กปฐมวัย

การประเมินผล
    ประเมินตนเอง : สนใจและจดบันทึกอยู่ตลอด
    ประเมินเพื่อน :  ในใจและให้ความร่วมเป็นอย่างดีในระหว่างอบรม
    ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์คอยดูแลแนะนำอยู่ตลอด

วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559

วันพฤหัสที่ 18 กุมภาพันธ์ 2559


ความรู้ที่ได้รับ

  • ท่าการบริหารสมอง
  • กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะแบบเคลื่อนที่  ครูผู้สอนจะต้องบอกข้อตกลงหรือทบทวนให้เด็กก่อนเริ่มกิจกรรม และคอยเคลื่อนที่ตามเด็กไปเรื่อยๆ ไม่หันหลังให้เด็กเพื่อให้มองเห็นเด็กได้ครบทุกคนเพื่อควบคุมดูแลไม่ให้เด็กเกิดอันตราย
ตัวอย่างการสร้างข้อตกลง
-กำหนดข้อตกลงว่า ถ้าคุณครูเคาะ ครั้งให้เด็กๆก้าวไปในทิศทางใดก็ได้ ก้าว
-ถ้าคุณครูเคาะ ครั้ง ให้เด็กๆก้าวไปในทิศทางใดก็ได้ ก้าว
-ถ้าคุณครูเคาะรัวๆให้เด็กเคลื่อนที่ไปรอบๆห้องอย่างอิสระ
-ถ้าคุณครูเคาะ2ครั้งติดกันดังๆ ให้เด็กๆหยุดทันที




ตัวอย่างเครื่องเคาะจังหวะจากวัสดุเหลือใช้




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-สามารถบริหารสมองด้วยตัวเองได้
-ได้รู้จักการกำหนดข้อตกลงที่จะให้ในการทำกิจกรรมเคลื่อนไหว

การประเมินผล
    ประเมินตนเอง : สามารถบริหารได้คล่องขึ้น  และสนใจในเนื้อหา
    ประเมินเพื่อน :  มีตั้งใจและสนใจอย่างดี
    ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์เตรียมอุปกรณ์ไว้พร้อม

วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5


วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2559

วันพฤหัสที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559


ความรู้ที่ได้รับ
  • สมรรถนะทั้ง ด้วยของเด็กปฐมวัย 
-  สมรรถนะ คือ พฤติกรรมบ่งชี้ของแต่ละวัย

ตัวอย่าง การเคลื่อนไหวและการทรงตัว
ปี - วิ่งและหยุดเองได้
ปี - เดินต่อเท้าไปข้างหน้าโดยไม่ต้องกางแขน
ปี - เดินต่อเท้าไปข้างหลังโดยไม่กางแขน

ตัวอย่างการมีปฎิสัมพันธ์กับเพื่อนเด็ก
ปี - พูดคุยและเล่นกับเพื่อน
ปี - ช่วยเหลือเพื่อน
ปี - ชวนเพื่อนเล่นด้วยโดยกำหนดสถานที่

  • ความสำคัญของสมรรถนะ 
-ทำให้พ่อแม่ ผู้ดูแลเด็ก และครู เข้าใจเด็กมากขึ้น
-สร้างความตระหนักในความสำคัญของการพัฒนาเด็กในแต่ละช่วงมากขึ้น
-ชี้แนะแนวทางในการพัฒนาเด็กเป็นเสมือน "คู่มือช่วยแนะแนว"
  • สมรรถนะทั้ง ด้ายประกอบด้วย
1.การเคลื่อนไหวและสุขภาพทางกาย
    2.พัฒนาการด้านสังคม
      3.พัฒนาการด้านอารมณ์
        4.พัฒนาการด้านการคิดและสติปัญญา
          5.พัฒนาการด้านภาษา
            6.พัฒนาการด้านจริยธรรม
              7.พัฒนาการด้ารการสร้างสรรค์





              การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
              -นำสมรรถนะข้อแต่งต่างของเด็กไปปรับปรุงใช้ในการสอนและทำกิจกรรม
              -ครูควรศึกษาเกี่ยวกับสมรรถนะให้ละเอียดเพื่อเป็นประโยชน์แก่เด็ก
              การประเมินผล
                  ประเมินตนเอง : สนใจบทเรียนและจดสาระสำคัญเสมอ
                  ประเมินเพื่อน :  สนใจและตั้งใจเป็นอย่างดี
                  ประเมินอาจารย์ :เนื้อเยอะและมีความละเอียดแต่อาจารย์สอนได้เข้าใจและกระชับ

              วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559



              บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4


              วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559

              วันพฤหัสที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559


              ความรู้ที่ได้รับ
              • ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางด้านร่างกายของเด็กปฐมวัย 
              • การนำทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

              นักทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาด้านร่างกาย

              กีเซลล์ 
              -ไม่เร่งสอนสิ่งที่ยากเกินไป ให้เด็กพัฒนาไปตามวัย
              -จัดกิจกรรมให้เด็กเคลื่อนไหว ทั้งเดี่ยวและกลุ่ม
              -จัดกิจกรรมให้เด็กได้ ฟัง พูด ร้องเพลง


              อีริคสัน 
              -ควรสร้างบรรยากาศให้เด็กมีความมั่นใจ กล้าแสดงออก
              -จัดกิจกรรมให้เด็กได้เล่นอย่าอิสระ
              -จัดกิจกรรมเคลื่อนไหว จังหวะ การเคลื่อนที่ของตนเองได้ทั้งเดี่ยวและกลุ่ม
              • กิจกรรมเคลื่อนไหวอยู่กับที่  ทั้งเดี่ยวและกลุ่มโดยทำคนละ ท่า หน้าชั้นเรียน เพื่อฝึกความกล้าแสดงออกและฝึกใช้เทคในการสอนเด็ก เช่น  การพูด  การใช้สายตามองไปรอบๆ  การอธิบายท่าทางที่จะสอนแก่เด็ก
              การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
              • ใช้ในการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวให้เด็กโดยสิ่งที่ต้องคำนึงอยู่เสมอคือการอธิบายและทำท่าทาง และทำตัวอย่างให้เด็กดู ให้เด็กเกิดความน่าสนใจและสนุกสนานกับกิจกรรม  มีส่วนร่วมกับกิจกรรมตลอด 
              • เพื่อฝึกสีหน้าท่าทางคำพูดของครูเหมาะสมในการสอนเด็ก





              การประเมินผล
                  ประเมินตนเอง : ยังไม่กล้าแสดงออกหน้าชั้นเรียนมากนัก
                  ประเมินเพื่อน : มีความตั้งใจดี  และให้ความร่วมมือทำกิจกรรม
                  ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีตัวอย่างให้ดูอยู่ตลอดและให้นศ.ร่วมกิจกรรมเสมอ